1. ระบบเศรษฐกิจ
พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านชบ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีกิจกรรมการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ทำนา รองลงมา คือ ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ รับจ้าง
เกษตรกรที่ปลูกอ้อยโรงงานนำผลผลิตไปขายที่โรงงานน้ำตาลในอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังนำผลผลิตไปขายที่แหล่งรับซื้อในอำเภอสังขะ และอำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ เกษตรกรที่ปลูกข้าวนำผลผลิตไปขายที่ร้านรับซื้อ สหกรณ์การเกษตร และโรงสี ในอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์มีพ่อค้ามารับซื้อ หรือบางส่วนนำไปจำหน่ายที่ตลาดนัด ดังตารางต่อไปนี้
แหล่งตลาดทางการเกษตรในตำบล
แหล่งตลาด
|
ที่ตั้ง
|
ระยะทาง (กิโลเมตร)
|
มันสำปะหลัง
|
- รวมชัยการค้า
|
อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
|
3
|
ข้าว
|
- รวมชัยไรซ์
|
อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
|
2
|
อ้อย
|
|
|
- โรงงานน้ำตาล
|
อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
|
40
|
หมายเหตุ : ระยะทางจากที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านชบถึงแหล่งตลาด
1.2 การประมง
-ไม่มี-
1.3 การปศุสัตว์ เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ ไก่ และอื่นๆ
1.4 การบริการ
(1) หน่วยธุรกิจในเขต อบต.
1) ปั๊มน้ำมันและก๊าซ มีจำนวน 8 ปั๊ม ดังนี้
- มีปั๊มหลอด 5 ปั๊ม
- ปั๊มหัวจ่าย - ปั๊ม
2) โรงสีข้าว ขนาดใหญ่ 1 โรง ขนาดเล็ก - โรง
3) โกดังรับซื้อข้าวเปลือก 2 โรง
1.5 สถานที่ท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวประจำพื้นที่ตำบลบ้านชบมีแหล่งท่องเที่ยว 1 แห่ง คือปราสาทยายเหงา ตั้งอยู่บ้านพูน
ทราย หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านชบ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ มีเนื้อที่ 5 ไร่ 76 ตารางวา สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้น ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 – 17 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอน 75 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478
1.6 อุตสาหกรรม
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านชบไม่มีอุตสาหกรรม แต่มีการประกอบ
1. โรงเลื่อย จำนวน 2 แห่ง
2. รีสอร์ท จำนวน 5 แห่ง
3. ปั๊ม ปตท. จำนวน 1 แห่ง
1.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
การพาณิชย์
ธนาคาร - แห่ง สถานีบริการน้ำมัน 2 แห่ง
บริษัท - แห่ง ศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า - แห่ง
ห้างหุ้นส่วนจำกัด 2 แห่ง ตลาดสด - แห่ง
ร้านค้าต่างๆ 175 แห่ง โรงฆ่าสัตว์ - แห่ง
ซุปเปอร์มาเก็ต - แห่ง อู่ซ่อมรถ 7 แห่ง
กลุ่มอาชีพ
จากการจัดเวทีชุมชนและสอบถามตัวแทนกลุ่มและองค์กรในชุมชน ทำให้ได้ข้อมูลกลุ่มต่างๆ
ในตำบลบ้านชบ ดังนี้
1. กลุ่มทอผ้าไหม บ้านศาลา หมู่ที่ 3 และบ้านโพนชาย หมู่ที่ 5
2. กลุ่มปั้นหม้อดิน บ้านชำสมิง หมู่ที่ 4
3. กลุ่มตีมีด บ้านชำสมิง หมู่ที่ 4
4. กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า บ้านศาลาสามัคคี หมู่ที่ 8
5. กลุ่มเย็บกระเป๋าสตรี บ้านศาลาสามัคคี หมู่ที่ 8
6. กลุ่มทำปลาส้ม บ้านศาลาสามัคคี หมู่ที่ 8
7. กลุ่มจักสาน บ้านพูนทราย หมู่ที่ 9
1.8 แรงงาน
จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรที่มีอายุ 15 – 60 ปี อยู่ในกำลังแรงงาน ร้อยละ 95 เมื่อเทียบกับอัตราส่วนกับจังหวัด ร้อยละ 73.99 ซึ่งสูงกว่ามาก แต่ค่าแรงในพื้นที่ต่ำกว่าระดับจังหวัด โดยเฉพาะแรงงานด้านการเกษตร ประชากรอายุระหว่าง 25 – 50 ปี บางส่วน ไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ รวมทั้งแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ ปัญหาที่พบคือ ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านใหญ่ๆ เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะ เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัย ปัญหานี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้